วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

class 7

M-Commerce คือการทำธุรกิจการซื้อขายผ่านมือถือ
-เนื่องจากเครื่องมือถือเป็นสิ่งใกล้ตัว ประชาชนมีกันทุกคน
-ไม่ต้องง้อ PC อีกต่อไป
-เนื่องจาก Culture เปลี่ยนแปลงไป ต้องการความรวดเร็ว ทุกคนชอบเข้าสังคม ต้องการ chat
-มีการพัฒนา Bandwidth เช่น 3G & 3.5G เพื่อจะขาย content ซื้อกำไรมากกว่า
-Chip หรือ processor ต่างๆ พัฒนาได้เร็วขึ้น ประหยัดพลังงาน
-มีการ Provide service มากขึ้น เรีนกว่า service economy เป็นเรื่องของการใช้สมองมากขึ้น

การประยุกต์ใช้
-           Mobile Banking
-           Shopping
-           Information based service
-           Auction
-           Travel information Booking

Mobile computing infrastructure
WAP – Wireless Application Protocol เพื่อขยายบริการอินเตอร์เน็ตบนมือถือ PDA ต่างๆ
พยามตัด Flash ทิ้ง โดยใช้ HTML WML ขึ้นมาแทน ใช้ภาษาปกติ
WiMax สามารถส่งสัญญาณ Wi-fi ไปทั่วเป็นระดับเมือง

 ข้อจำกัดของ Mobile computing
คสามปลอดภัย
ความน่าเชื่อถือของการใฝช้เทคโนโลยี
Presentation
Mobile Robot
หุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะ ทำงานแทนคนเช่นการสำรวจ ทางการแพทย์ เพื่อเล่นมนุษย์ สำรวจดวงจันทร์ เป็นต้น

ประเภท
Fixed Robot -
Mobile Robot – โครงสร้างขนาดเล็ก เคลื่อนไหวง่าย ใช้ล้อ รางเป็นตัวทำให้เคลื่อนที่แนวราบได้ เลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์มากขึ้น โดยเพิ่มขา เช่น Hajime Robot

Virtual World
ตอบสนองความต้องการใช้พร้อมกันได้ โดยผ่านเครือข่าย
โดยใช้ภาพในการนำเสนอ
มีการตอบสนองทันที
Interactive เปลี่ยนแปลงข้อมูลต่างๆได้ทันที
เป็นการสนับสนุนการรวมกลุ่มในโลกเสือนจริง

จุดประสงค์คือใช้สำหรับการเล่นเกมส์ ผ่าน computer หรือ Virtual world website ที่เปิดโอกาสให้คนได้เข้ามาอยู่รวมกลุ่ม เช่น clubpenquin.com , secondlife.com เป็นต้น

E-book Reader
สามารถอ่านได้ทั้ง PDF DOC MP
มีจอแสดงผล 2 แบบ คือ LCD EInk ทำให้สายตาไม่ล้า
ข้อดี
 พกพาสะดวกในการอ่าน
ลดการใช้กระดาษ
นักเขียนสามารถแสดงผลงาน ขายผลงานได้ง่ายขึ้น
การแข่งขันสูงขึ้น เป็นปนะโยชน์ต่อผู้อ่าน
ไม่ต่องไปร้าหนังสือ
ข้อเสีย
ยังไม่แพรหลาย
อายุการใช้งานสั้น
ยังอ่านภาษาไทยไม่ค่อยได้
ฐิตยาภรณ์ ธีรานุวรรตน์ 5202115381

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

class 6 : E-business and E-Commerce

E-business and E-Commerce

ตัวอย่างองค์กรที่เป็น E-Business and E-commerce
·        Dell - เป็นบริษัทที่ใช้ระบบ E-commerce ในการดำเนินงาน ลูกค้าสั่งซื้อ Laptop ผ่านเว็ปไซต์สามารถระบุสเปคเครื่องเองได้ เป็นการผลิตแบบ Customization ซึ่งทำให้สามารถตั้งราคาสูงได้ ในขณะที่คู่แข่งของ Dell ขายสินค้าผ่านทางหน้าร้าน
·        Ebay - เป็นเว็ปไซต์ประมูล ทำให้ผู้ขายสามารถขายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจาก Information Asymmetry กำไรค่อนข้างดี เพราะเวลาผู้ซื้อบิดได้ จะรู้สึกพอใจมากขึ้น(ได้ชนะการบิด)
·        Amazon - เป็นเว็ปขายสินค้าสินค้า เริ่มจากขายหนังสือก่อน เพราะมีหนังสือจำนวนที่ไม่ค่อยมีคนอ่านและหายาก เชื่อว่าจะขายได้เพราะใช้เทคนิคที่เรียกว่า long tail (สินค้าบางประเภทจะขายดีมาก ประมาณ 10%ของลูกค้าจะซื้อสินค้าชนิดนี้ แต่ก็ยังมีสินค้าประเภทอื่นที่ไม่เป็นที่นิยมมากนักแต่ก็ยังมีลูกค้าส่วนที่เหลือสนใจ)
·        Click & Mortar VS Brick& Mortar  - เป็นบริษัทที่มีการขายทั้ง online และ offline แต่ต่างกันตรงที่ Click & Mortar มีทั้ง online and offline ในขณะที่ Brick& Mortar มีอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
รูปแบบของ E-Business   แบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้
                1. Business-to-Business (B2B)
                2. Business-to-Consumer (B2C)
                3. Consumer-to-Consumer (C2C)
E-commerce Model
·        Affiliate marketing หาคู่ค้า โดย ให้ code affiliate ประจำตัวต่อคู่ค้าแต่ละคน เมื่อมีลูกค้าซื้อสินค้าผ่านการเชื่อมโยงมาจากเว็ปไซต์ของคู่ค้า คู่ค้าจะได้เปอร์เซ็นต์จากการขาย
·        Batering เว็ป www.craigslist.com คนใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันฟรี เช่น แลกของ ซื้อของ, Couchsurfing.com คล้าย facebook ของนักท่องเที่ยว ถ้าไปเที่ยวที่ที่มีสมาชิกอยู่ก็ไปนอนบ้านเค้าก็ได้ หรือPriceline.com ใช้เวลาซื้อตั๋วเครื่องบิน โดยให้ลูกค้าแจ้งราคาที่ต้องการเข้าไป แล้ว Priceline ทำหน้าที่ Matching
·        Online Advertisers, Marketers & Students  เช่น facebook
·        Company-sponsored Socially Oriented Sites เช่น eblogger
·        API คือ Application Programming Interface  เช่น iphone มี app เยอะ พวกนักพัฒนาจะต้องมี code API ของ apple เพื่อเอาไปสร้าง app เพื่อมาใช้กับ iphone apple ได้, Paypal  ดีกว่าการตัดบัตรเครดิตปกติตรงที่มีความปลอดภัย และสามารถปริ้นใบเสร็จจาก Paypal แล้วเอาไปจ่ายเงินสดที่ธนาคารได้ นอกจากนี้ยังมี youtube และ google map

ประโยชน์ของ E-Commerce
สามารถเปิดให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ตัดปัญหาเรื่องการต่อรองราคาสินค้า
ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมมีโอกาสมากขึ้น ทั้งโอกาสในการขายและการเปิดตลาดใหม่
โอกาสทางธุรกิจเท่าเทียมกัน
การประชาสัมพันธ์ทำได้ง่ายขึ้น
7 ติดต่อลูกค้าสะดวกมากยิ่งขึ้น
8 ขยายฐานลูกค้าได้ทั่วโลก เพิ่มรายได้

ข้อจำกัดของ E-commerce 
1.  Technology limitation
2.  Security  อาจไม่ปลอดภัยมากนัด เช่น ภัยจากhacker
3.  ขาดความรู้ด้านกฎหมายการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
Social Commerce
ลูกค้ามักซื้อของถ้าได้รับคำแนะนำจากเพื่อน  คนรู้จักมากกว่าการโฆษณา เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า Facebook เริ่มมีอิทธิพลต่อสังคมออนไลน์อย่างมาก และอาจกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญของ Google หาก Facebook  สามารถสร้าง Search engine ของตนเองขึ้นมาได้ Search Engine ของ facebook จะสามารถค้นหาความคิดเห็นที่มีต่อสินค้านั้นๆได้มากกว่า Google
  •  Electronic Catalogs เช่น  JCPenney, the home depot
  • E-Auctions  เช่น uBid,  ebay,  DellAuction  ทำให้ผู้ขายไม่ถูกกดราคาเหมือนการขายในตลาดทั่วไป
  • E-classifieds  เช่น Paypal, EbayMotors, Half.com
  • Customer service online เช่น Dtac , True
  • Electronic Malls   เช่น MSN Shopping, Cash back stores, Choice mall, We love shopping, Allibaba 
  • Batering&Negociation เวปสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้า พวก B2B Auction เช่น TARADB2B.COM เป็นเวบไซด์ขายของของเมืองไทยที่เพิ่งขายให้ญี่ปุ่นไป เข้ามาซื้อของได้ทั้งคนไทยและต่างชาติ
  • Electronic Storefront           มีการขายทั้ง online และ offline ข้อดีอยู่ตรงที่ลูกค้าจะมีหลายกลุ่ม หรือเวลาจะคืนของก็สามารถไปเคลมคืนที่ร้านได้ แต่ก็มีข้อเสียคือต้นทุนสูง จะต้องแยกการจัดการระหว่างร้าน online และ ร้านoffline
  • Electronic Malls เช่น MSN Choice Mall พยายามให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนไปห้างมากที่สุดOnline Job Market เช่น Jobsdb.com, jobtopgun.com
  • Travel Service เช่น Expedia, Carnival, Travelocity, Hotwire.com
  • Real-estate online
  • Major Models of E-business : From E-Government to C2C  เช่น B2E, E2E, E-collaborative, E-Government(E-Government คือ การที่ส่วนราชการใช้ Internet และ Website เข้ามาช่วยในกระบวนการต่าง เช่นการจ่ายภาษี หรือการประมูลงานของรัฐ)
  • การจ่ายเงินออนไลน์  เช่น Electronic funds transfer , Electronic checks
Presentation
Cloud computing คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยเมื่อผู้ใช้ระบุความต้องการไปยังระบบ ระบบจะทำการจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ สามารถขยายหรือปรับเปลี่ยนได้ตาม Service Provider มีลักษณะที่สำคัญ 5 ประการ
                 1.On demand
                 2.Board Network Access
                 3.Resource Pooling
                 4.Rapid Elasticity
                 5.Measured Service           

ประโยชน์ของ Cloud computing มีอยู่หลายประการ ได้แก่
  • Cost saving นอกจากองค์กรจะสามารถนำ IT มาใช้งานได้ง่ายแล้วยังช่วยลดต้นทุนการลงทุนด้าน IT อีกด้วยเนื่องจากการให้บริการผ่าน Cloud Computing เป็นระบบการให้บริการแบบ Share ทรัพยากรทั้งส่วนจัดเก็บข้อมูล Application และการประมวลผลบนInternet  จึงเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale)
  • Scalability ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและเลือกเสียค่าใช้จ่าย ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณของตนได้
  • Access to top-end IT capabilities ทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรด้าน IT ที่ดีได้ โดยไม่ต้องมีเงินลงทุนจำนวนมาก
  • Focusing on core competencies ทำให้องค์กรสามารถFocusจุดแข็งขององค์กรได้ โดยไม่ต้องแบ่งมาลงทุนด้าน IT
  • Efficient asset utilization ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Health Informatics  คือการนำข้อมูลที่เกี่ยวกับทางด้านสุขภาพมาผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากร ใช้พัฒนาข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณสุข และนำมาพัฒนาปรับปรุงวิธีการได้มา การเก็บรักษาและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกี่ยวสุขภาพ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1.ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม
2. ด้านสุขภาพ ตั้งแต่เกิดจนตาย
3.ทรัพยากรบุคลของคนที่ทำงานด้านสาธารณสุข
4.กิจกรรมสาธารณสุข
5.บริหารจัดการ

หรือแบ่งเป็น 3 ประเภทตามภารกิจได้แก่
1.สาธารณสุขเพื่อการบริหาร
2.สาธารณสุขเพื่อการบริการ 
3.สาธารณสุขเพื่อการวิชาการ

Web  2.0   คือ Website ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีลักษณะสำคัญ 7 ประการ คือ
1.       Network as platform สามารถใช้งานผ่าน Web Browser ได้
2.       ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของข้อมูลบน "website" นั้น สามารถดำเนินการใดๆ ก็ได้กับข้อมูลนั้น 
3.       ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้นไม่ใช่แค่อ่านได้อย่างเดียว
4.       มี User interface ที่ดีขึ้น
5.       สามารถโต้ตอบกันได้
6.       มีความรวดเร็วและง่ายในการส่งข้อมูลมากขึ้น
7.       มีการเอา Function ใช้งานจากหลายเว็บรวมเข้าด้วยกัน

เปรียบเทียบ Web 1.0 กับ Web 2.0
           Web 1.0 จะเป็นการสื่อสารทางเดียว คือจากเจ้าของเว็ปไซต์ซึ่งเป็นคนเดียวเท่านั้นที่สามารถใส่ข้อมูลลงในเว็บนั้นได้ แต่ Web 2.0 ทั้งเจ้าของและผู้ใช้สามารถโต้ตอบกันได้ โดยเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เว็บทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น AJAX ทำให้เว็ปทำงานเร็วขึ้น, SaaS(Software as service) เป็นซอฟแวร์บนเว็บที่ให้บริการโดยไม่ต้องซื้อ, RSS เป็นการอัพเดต content,ข้อมูลใหม่ๆ และตัวอย่างเว็บไซต์ยุค Web 2.0 ที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก YouTube, MySpace, Facebook, Wikipedia เป็นต้น
ฐิตยาภรณ์ ธีรานุววรตน์ 5202115381

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Class 5

กรณีศึกษา : California state automobile association
ปัญหา : IT infrastructure ใกล้จะถึงช่วงระยะเวลาอิ่มตัว ไม่สามารถเชื่อมต่อกับคู่ค้าได้ ไม่สามารถ support ระบบได้ และการปรับปรุงไม่สามารถทำได้
วิธีแก้ไข : replace server โดยใช้ web farms แทน
ผลลัพธ์ : ภายใน 1 ปีน่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีกลับมา 7.5 ล้านดอลล่าร์ ROI 493% ทำให้ส่งของให้ลูกค้าได้เร็วขึ้น ลดต้นทุน  บริหารจัดการการรักษาความปลอดภัยได้ดีขึ้น

Moore’s Law
·        คาดว่า power of computer chip มีคุณภาพดีขึ้นทวีคูณ ในทุกๆเดือนในขณะที่ต้นทุนยังคงที่
·        โอกาสที่องค์กรจะซื้อของดีในราคาที่ถูกมากขึ้น
·        Price to Performance พบว่าควรจะลดลงในรูปแบบ Exponentially
·        เมื่อถึงจุดหนึ่งเทคโนโลยี silicon-based chip จะถึงจุดอิ่มตัว ต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีอื่น

Productivity Paradox
คือ การที่อัตราการพัฒนาของเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราการพัฒนาของสิ่งอื่นๆ ไม่รวดเร็วเท่า เช่น เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผลลัพธ์ของการใช้พัฒนานี้มีอัตราการเติบโตที่น้อยกว่าอัตราการเติบโตของเทคโนโลยี ซึ่งเหตุผลของการที่สิ่งอื่นๆ พัฒนาไม่ทันเทคโนโลยีนั้นมีสาเหตุดังนี้
·        Productivity gain วัดได้ยากไม่สามารถแสดงผลให้เห็นได้ชัดเจน
·        Productivity gain อาจหักลบกลบหนี้กับการลงทุนที่สูง ซึ่งทำให้ไม่เห็นผลที่ชัดเจน
·        การลงทุนใน IT ใช้ต้นทุนสูง benefit ที่ได้อาจได้ช้าหรือไม่คุ้ม
·        อาจมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ที่จะได้ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เช่น  ปัจจัยด้านกฎหมาย
ถึงแม้ Productivity Paradox จะมีข้อเสียจำนวนมาก แต่ Productivity Paradox ก็อยู่ เนื่องจาก
o    สามารถช่วยเพิ่มผลิตผลได้ 
o    ได้ผลทางตรง เช่น ได้กำไร และผลทางอ้อม เช่น ภาพลักษณ์ดีขึ้น

Why justify IT Investment?
           ในการลงทุนทางด้าน IT นั้นองค์กรมีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งข้อจำกัดด้านงบประมาณ เวลา และบุคคลากร ทำให้ต้องมีการประเมินทางเลือกว่าจะเลือกพัฒนา IT อันไหนก่อนหลัง เนื่องจากต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

The IT Justification Process
  • หาเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เหมาะสม
  • สร้างตัววัดที่มีประสิทธิภาพ
  • ประเมิน ทำให้เข้าใจง่าย และบันทึกเป็นเอกสารไว้
  • คำนวณทางเลือก ซึ่งอย่าลืมรวมการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย
  • การที่จะพัฒนาด้าน IT นี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่
  • ไม่ควรประเมินต้นทุนที่เกิดขึ้นสูงหรือต่ำจนเกินไป
  • ร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
Difficult in Measuring Productivity& Performance Gains
·         ยากที่จะระบุว่าจะวัดอะไร
·         Time lags : ทำให้การวัดผลต้องทำหลัง install ระบบไปแล้ว และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
·          ผลกระทบของการลงทุน IT วัดจากการดำเนินงานขององค์กรได้ยาก
  
Intangible Benefits
·         วัดความพอใจ
·         ประสิทธิภาพในการสื่อสารของพนักงาน

Costing IT Investment
                แบ่งเป็น fixed cost ซึ่งเป็นการลงทุนในส่วนของ infrastructure และ transaction cost ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ install ระบบแล้ว ได้แก่ ต้นทุนในการค้นหาสินค้าของลูกค้า ต้นทุนในการจัดหาข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการเจรจาตกลงซื้อขาย ต้นทุนในการตัดสินใจและต้นทุนใน monitoring

Revenue Models generated by IT&Web
·         Sales เช่น เปิดเว็บขายของ
·         Transaction fees เช่น EBAY
·         Subscription fees เช่น เว็บให้ดาวน์โหลดเร็วขึ้น
·         Advertising fees เช่น GOOGLE
·         Affiliate fees เช่น AGODA

Cost-Benefit Analysis
ดูว่าโครงการลงทุนคุ้มค่าหรือไม่ โดยเปรียบเทียบเงินที่ใช้ในการลงทุนกับผลประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งสามารถทำได้โดยการระบุ ประเมินค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่ได้ในรูปของตัวเงิน สำหรับในส่วนของ Intangible benefit ก็ต้องประเมินออกให้เป็นตัวเงินเช่นกัน

Cost-Benefit Evaluation Techniques
        Net Profit : สนใจแค่กำไรทั้งก้อน ละเลยเรื่องของสัดส่วนเงินลงทุนต่อผลกำไรและมูลค่าของเงินตามเวลา
        Payback period : พิจารณาระยะเวลาของการคืนทุนเพียงอย่างเดียว ละเลยเรื่องของผลกำไร สัดส่วนเงินลงทุนต่อผลกำไรและมูลค่าของเงินตามเวลา
        ROI : พิจารณาสัดส่วนของเงินลงทุนกับผลตอบแทนที่จะได้รับ แต่ละเลยในเรื่องของมูลค่าของเงิน
        NPV : พิจารณาในส่วนของกระเเสเงิน ซึ่งเป็นการคำนึงมูลค่าของเงินตามเวลา อย่างไรก็ตามอาจมีปัญญาในเรื่องของการตัดสินใจใช้ discount rate ได้ ซึ่งทำให้การประเมินทำได้ยาก
        IRR :  เป็นการประเมินผลเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาในการเปรียบเทียบ NPV ระหว่างโครงการ การคำนวณ IRR ทำได้โดยหาจุดที่ทำให้ NPV เป็น

Advances Methods for Justifying IT Investment and Using IT Metrics
  • Business case : ทำเป็นเอกสารประเมินทางเลือกของ IT เน้นให้เห็นมุมมองหลายแง่มุม
  • Total cost (and benefit) of ownership : คำนวณต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งต้นทุนแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ acquisition cost, operation cost และ control cost
  • Benchmarks : เทียบกับคนที่ดีที่สุด คนที่อยู่ตรงกลาง และคนที่อยู่ท้ายสุดของอุตสาหกรรมฺ
  • Balance scorecard : มอง 4 มุมมอง คือ customer, financial, internal business processes และ learning and growth ซึ่งแต่ละมุมมองจะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย (KPIs) ที่ชัดเจน และสอดคล้องกับ mission, vision ขององค์กร
Managerial Issues
·         ต้องเตรียมพร้อมรองรับความเปลีี่่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี
·         เปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับด้านการเงินเพียงอย่างเดียว มาเป็นให้ความสำคัญด้านคุณภาพด้วย
·         ต้องมีการวัดอย่างสม่ำเสมอว่าสิ่งที่ใช้อยู่นั้นยังทำงานได้เหมาะสมกับองค์กรหรือไม่ เพราะอาจมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ทำให้ที่ใช้อยู่นั้นไม่เหมาะสมกับองค์กรแล้ว
·         มองหาวิธีในการดึงดูดให้ผู้ใช้เปลี่ยนพฤติกรรม
·         พิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงโอกาสที่จะเกิด ซึ่งจะต้องลำดับความสำคัญและหาวิธีจัดการกับความเสี่ยงนั้น
·         ดูว่าจะใช้วิธีไหนมาวัดให้เหมาะสมมากที่สุด
·         ดูว่าใครควรเป็นคนตัดสินใจว่าจะเลือก IT แบบไหน ส่วนใหญ่ปัจจุบันจะเป็น Steering Committee และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่เป็นคนเลือกระบบไอที
ฐิตยาภรณ์ ธีรานุวรรตน์ 5202115381

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Class 4 : Outsourcing, Offshoring, and IT as a Subsidiary

Outsourcing, Offshoring, and IT as a Subsidiary

Outsource IT

§  เหตุผลที่ทำ outsourcing
-          เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างความสามารถหลักให้แก่องค์กร
-          ลดต้นทุน
-          มีคุณภาพสูงขึ้น
-          เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองต่อตลาด
-          พัฒนาเทคโนโลยีใหม่
§  ประเภทของข้อตกลง
-          Transactional outsourcing agreements - outsource การทำงานที่มีลักษณะชัดเจนแล้วให้ผู้อื่นทำ
-          Co-outsourcing alliances - ร่วมกันพัฒนากับคู่ค้า
-          Strategic partnership - outsource ให้ผู้เดียวเป็นคนรับผิดชอบงานทั้งหมดด้านนี้ขององค์กร 
§  ประโยชน์ของการทำ outsource
-          ด้าน Financial เช่น มี cash flow ที่ดีขึ้น
-          ด้าน Technical เช่น ได้เทคโนโลยีมาใช้เร็วขึ้น
-          ด้าน Management เช่น พัฒนาความสามารถหลักขององค์กรได้ง่ายขึ้น
-          ด้าน Human Resource เช่น ลดความถี่ในการสรรหาพนักงานด้าน IT ลงได้
-          ด้าน Quality เช่น ได้ Software ที่ดีกว่า
-          ด้าน Flexibility เช่น ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจได้ดีมากขึ้น
§  ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำ outsource ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการ Outsource (Risk Associated with Outsourcing)
-          Shirking คือ การที่ vendor ไม่สามารถทำงานให้เราได้ไม่เต็มที่
-          Poaching คือ การที่ vendor อาจนำข้อมูลหรือระบบของบริษัทเราไปขายให้กับบุคคลอื่นๆความสามารถทางการแข่งขันในด้านความแตกต่างของบริษัทลดลง
-          Opportunistic repricing คือ การที่ vendor อาจมีการต่อรอง
§  วิธีจัดการกับความเสี่ยง
-          รู้ความต้องการของตนเอง และระบุให้ชัดเจนใน Agreement
-          แบ่งส่วนของงานที่ให้ทำ ทำทีละ phase
-          ให้แรงจูงใจโดยขึ้นอยู่กับผลงานที่ทำได้
-          ทำสัญญาระยะสั้น เพื่อกระตุ้นให้มีความกระตือรือร้นในการทำงานเสมอ
-          ดูแลและควบคุมผู้ที่ถูก outsource ให้อย่างดี
-          เลือก outsource งานบางอย่างเท่านั้น ในส่วนที่ไม่ใช่ core หลัก หรือมีผลต่อความปลอดภัยขององค์กร
§  Hidden Costs ของการ Outsource
ต้นทุนในการวิเคราะห์เปรียบเทียบเลือก vendor (benchmark) การติดต่อ ทำสัญญา การแลกเปลี่ยนความรู้ และต้นทุนในการส่งคนไปช่วย vendor
§  กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงในการ Outsourcing
-          ทำความเข้าใจ project อย่างลึกซึ้ง
-          แบ่งProject ใหญ่ๆออกเป็นส่วนงานย่อยๆ
-          ให้รางวัลพนักงานตามผลงาน
-          ทำสัญญาในระยะสั้น เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
-          ตรวจสอบ Subcontracting ว่าบริษัทที่ไปจ้างต่อดีหรือไม่
-          outsourcing เฉพาะส่วนงานที่มิใช่ความสามารถหลัก (CORE) ขององค์กร

Offshore Outsourcing
  คือ การ outsource ไปยังที่อื่น นอกเหนือจากที่ client อยู่ เช่น บริษัทอยู่ในประเทศไทย แต่ outsource ให้บริษัทในประเทศอินเดียทำงาน ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยสภาวะของธุรกิจและการเมืองของประเทศที่เราจะ Offshore Outsurcing ด้วยรวมถึงโครงสร้างต่างๆว่าสามารถรองรับกับระบบ IT ได้หรือไม่ เช่น สภาพเศรษฐกิจ กฎหมาย วัฒนธรรม นอกจากนี้ยังอาจมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น คาดหวังว่าจะสามารถลดต้นทุนได้ แต่ในความเป็นจริงอาจทำไม่ได้ เรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ความแตกต่างทางวัฒนธรรม เรื่องทรัพยากรบุคคล เรื่ององค์กรอาจขาดการพํฒนาทักษะที่เรา Outsource ออกไป เป็นต้น
สำหรับส่วนประเภทงานที่ไม่ควร Offshore Outsourcing ได้แก่ งานที่ไม่เป็น routine งานที่ทำให้เราเสียอำนาจในการควบคุมการดำเนินงานหลัก หากทำการ outsource  งานที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ ทักษะต่างๆประกอบเข้าด้วยกัน และงานที่มีความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยของข้อมูล



The Framework of IT Application Acquisition

Acquisition Process of IT Application มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่
1.               Planning, Identifying, and justifying IT based systems
-          Identifying สามารถมาจากทั้งผู้ใช้ระบบและคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ 
-          Justifying ต้องนำมาประมวลผลว่าจะพัฒนาระบบไหน เนื่องจากมีทรัพยากรทั้งคน เงิน และเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้ตามความต้องการของทุกฝ่ายได้
-          Planning ต้องมีความเข้าใจลักษณะของธุรกิจ สามารถระบุถึงความต้องการ ขอบเขตของงาน การทำ feasibility study กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาแต่ละขั้นตอน รวมไปถึงประเมินความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น
2.       Creating an IT architecture
          วางโครงสร้างด้าน IT โดยมองที่ Information infrastructure, data architecture, network architecture ซึ่งการวางแผนที่ีดีจะช่วยใ้ห้สามารถเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ได้ง่ายและทำงานได้ดี
3.      Selecting an acquisition option
-          Build in house พัฒนาระบบภายในองค์กร ซึ่งมีวิธีในการพัฒนา 3 แบบคือ Build from scratch , Build from components และ Integrating applications
-          Vendor build custom made system ให้vendor ทำ custom-made system
-          Buy existing application and install with/without modifications เป็นการซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ภายในองค์กร โดยอาจจะมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการทำงานภายใน
-          Lease เช่ามาใช้ เหมาะกับบริษัทที่มีความจำกัดด้าน IT หรือ ระบบเทคโนโลยีนั้นๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
-          Enter partnership or alliance ร่วมกันทำระหว่างคู่ค้า
-          Use combination ใช้หลายวิธีร่วมกัน
4.       Testing, installing, integrating & deploying IT applications
                ทำการติดตั้งระบบ แล้วทดสอบว่าสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ โดยพิจารณาเรื่องของเวลาและต้นทุน
5.       Operations, maintenance & updating
ทำการปรับปรุงระบบให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว


ฐิตยาภรณ์ ธีรานุวรรตน์ 5202115381