วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

class 3 : Transaction Processing System

Transaction Processing System (TPS) : ระบบสารสนเทศสำหรับประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
          เป็นระบบที่มีความสำคัญมากที่สุดขององค์กร เนื่องจากเป็นระบบที่จะเก็บข้อมูลการทำงานทุกอย่างไว้ แล้วจึงสรุปให้ระบบอื่นนำไปประมวลผลอีกที ทำให้หากข้อมูลในระบบนี้มีความผิดพลาดก็จะส่งผลให้การนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์ต่างๆ จะมีความผิดพลาดทั้งหมด (Garbage In - Garbage Out) นอกจากนี้ระบบนี้ยังจำเป็นต้องมีการประมวลผลที่น่าเชื่อถือ และต้องมีสแตนดาร์ด เพื่อให้หลายๆฝ่ายเข้าใจได้ง่าย โดยระบบนี้จะช่วยในเรื่องการทำงานที่มีลักษณะการทำงานซ้ำๆกัน และเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (real-time) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามที่เกิดขึ้นประจำวัน และเพื่อผลิตและเตรียมสารสนเทศสำหรับระบบอื่น
คุณสมบัติของระบบ
§  มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก และมีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว
§  มีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง มีการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
§  แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก
§  ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน และไม่ต้องการความซับซ้อนในการคิดคำนวณ
วงจรของการประมวลผล
1.               Data entry  คือ การบันทึกข้อมูลเข้าไป Ex. POS
2.               Transaction processing คือ การประมวลผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
§  Batch คือ การประมวลผลเป็นรอบๆ เช่น รวบรวมไว้ประมวลผลครั้งเดียวตอนสิ้นวัน ex. bank
§  Online/real-time ข้อมูลถูกประมวลผลทันที ex.online shopping     
จะเลือกการประมวลผลประเภทไหนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ ถ้าข้อมูลจำเป็นที่จะต้องทราบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ก็ให้เลือกใช้แบบ Real time เช่น ร้านสะดวกซื้อต่างๆ แต่ถ้าหากสามารถรอการประมวลผลได้ ก็ให้เลือกใช้แบบ Batch เช่น การเคลีย์เช็คของธนาคาร ที่ต้องใช้เวลาสองวันเืพื่อรอให้เงินเข้าบัญชี
3.               Data base updating คือ เป็นการบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูลและการจัดเก็บฐานข้อมูล โดยข้อมูลจะต้องถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน
4.               Document and report คือ การออกรายงานให้ถูกต้อง ซึ่งรายงานนี้เป็นเพียงการแสดงข้อมูลทั้งหมด ไม่ได้มีการประมวลผลที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า
5.               Inquiry procession คือ การสอบถามข้อมูลจากระบบ การค้นหาข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น การตรวจสอบว่าสินค้าที่ลูกค้าต้องการยังมีอยู่หรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่ระบบจะนำเสนอนี้จะเป็นในรูปแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์ หรือแสดงผลบนหน้าจอ และยังอาจจะต้องใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อ เช่น Intranet, Extranet เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ระบบ TPS ในธุรกิจ
1.สารสนเทศทางการบัญชี >> เป็นการสนับสนุนระบบบัญชีโดยการรวบรวมข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และจัดประเภทรายการเหล่านั้นให้อยู่ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม ทำให้สามารถจัดทำบัญชีและนำไปวิเคราะห์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น Order Entry System และ Acoount Receivable/Account Payable 
 2.สารสนเทศทางการตลาด >> เป็นการสนับสนุนการนำข้อมูลที่สำคัญของลูกค้าไปใช้ในการดำเนินกลยุกต์การตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการได้แม่นยำขึ้น ตัวอย่างเช่น
§  Mass customization ใช้ข้อมูลทางการตลาดศึกษาเทรนด์การตลาดของคุณสมบัติสินค้าที่ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการต้องการ
§  Personalization ทำให้สามารถให้บริการได้ตรงความต้องการตามความชอบของลูกค้าแต่ละคน (customize)
§  Advertising and promotion สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ผ่านข้อมูลที่เก็บไว้ โดยอาจติดต่อผ่านทาง e-mail บอกว่าลูกค้าต้องการอะไร เป็นคนกลุ่มไหน แล้วส่งข้อมูลให้ลูกค้า
§  Improving shopping โดยการสร้างความสะดวกสบายผ่านทาง RFID tag payment ที่สามารถช่วยลดต้นทุนค่าจ้างพนักงาน cashierได้
        3.สารสนเทศงานด้านทรัพยากรมนุษย์ >>  เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน ทำให้เข้าใจถึงข้อบกพร่องและสามารถนำไปใช้พัฒนานโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การประมวลผลเงินเดือน และคลังข้อมูลทักษะพนักงาน

ฐิตยาภรณ์ ธีรานุวรรตน์ 5202115381

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น